วิเคราะห์เซเล็ปศิลปินดัง กับปัญหาทางจิต ซึมเศร้า ไบโพลาร์ หรือแค่คิดไปเอง

                คนทุกคนล้วนต้องประสบกับปัญหาด้วยกันทั้งนั้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมีจิตใจเข้มแข็งพร้อมเผชิญและแก้ไขปัญหาได้มากกว่ากัน ซึ่งบางคนมีความแข็งแกร่งทางจิตใจเพราะถูกฝึกมาจากครอบครัว ในขณะที่บางคนต้องปล่อยให้ตัวเองจมดิ่งอยู่กับปัญหาที่แก้ไม่ได้ จนกลายเป็นปมลุกลามภายในจิตใจ ส่งผลให้เกิดโรคทางจิตที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยตัวเอง และดูเหมือนว่าคนที่มีชื่อเสียงมีหน้ามีตาในสังคมจะมีโอกาสเป็นได้มากกว่าบุคคลธรรมดา เนื่องจากภาระและความคาดหวังอันใหญ่หลวงจากคนรอบข้าง ทำให้ปมภายในจิตใจนั้นแก้ไม่ตก

ย้อนกลับไปราว ๆ 20 กว่าปีที่แล้ว ประเทศเรามีนางแบบชื่อดังมีประวัติเป็นเพียงแค่เด็กสาวธรรมดา ๆ แต่เธอได้รับโอกาสที่ดีจากผู้ใหญ่ในวงการแฟชั่น ประกอบกับการมีรูปร่างดีและใบหน้าขึ้นกล้องทำให้เธอได้โบยบินเข้าไปสู่อาชีพนางแบบระดับโลก จนได้ขึ้นปกนิตยสารชื่อดัง ด้วยความตื่นตาตื่นใจกับสังคมใหม่ ทำให้เธอได้พบปะกับผู้คนมากหน้าหลายตา แต่โชคร้ายที่เธอต้องเข้าสู่วังวนของยาเสพติด และเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาพลเมืองดีพบเห็นเธอเดินไร้สติอยู่ข้างถนนจนต้องพาส่งโรงพยาบาล พบว่าเธอคนนี้ก็คือนางแบบชื่อดังนามว่า ยุ้ย รจนา ผู้ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์สองขั้ว ที่ไม่ได้เข้ารับการรักษามานานจนอาการกำเริบ ความหลงระเริงจากการโด่งดังและผลของยาเสพติดทำให้เธอต้องกลายเป็นคนไม่ปกติ ซึ่งปัจจุบันยุ้ยได้รับการรักษาจากจิตแพทย์และยิ่งไปกว่านั้นเธอยังได้รับโอกาสให้กลับเข้าสู่วงการแฟชั่นอีกครั้งในฐานะเบื้องหลัง

อีกหนึ่งกรณีคนดังกับอาการทางจิตที่กำลังเป็นกระแสอยู่ทุกวันนี้ก็คือ กรณีของเสก โลโซ ซึ่งทำการถ่ายทอดสดกิจวัตรประจำวันของตัวเองผ่านเฟสบุ๊คตั้งแต่ตื่นนอน ล้างหน้า แปรงฟัน ทานข้าว รวมไปถึงการพาดพิงถึงบุคคลอื่น ๆ ในทางเสียหาย จนคนใกล้ชิดออกมาเปิดเผยว่าเสกมีอาการของโรคไบโพลาร์และซึมเศร้า ซึ่งหยุดการรักษาและไม่ได้รับประทานยามาหลายเดือนแล้ว ทำให้สังคมเกิดความเป็นห่วงว่าเขาอาจเข้าสู่ภาวการณ์อยากฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นภาวะขั้นสุดท้ายของโรคนี้ จนกระทั่งวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมาได้มีรายงานข่าวว่าภรรยาเก่าและลูกชายคนโตของเสกได้ทำการเข้าไปในบ้าน ซึ่งเป็นสถานที่ที่เสกพักอยู่และไม่ได้ออกมาข้างนอกกว่า 6 เดือน แม่ลูกทั้ง 2 รวมทั้งคนสนิทอีกหลายคนได้ช่วยกันนำตัวเสกไปโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรียบร้อยแล้ว

จะเห็นว่าผู้ป่วยทางจิตไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้าหรือไบโพลาร์ ต่างก็ต้องการความรักความเอาใจใส่จากครอบครัวและคนรอบข้าง เนื่องจากผู้ป่วยทางจิตมักจะคิดว่าตนคือคนปกติจนอาการนั้นลุกลามไปสู่ภาวะที่รักษาได้ยาก นอกจากนี้โอกาสที่จะได้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติ คือสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการมากที่สุดหลังจากการรักษา ดังนั้นคนรอบข้างควรทำความเข้าใจและช่วยเหลือเขาเหล่านี้อย่างเต็มที่

 

สังคมแห่งความขัดแย้งและความเร่งรีบ ก่อให้เกิดผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจำนวนมาก

สังคมในปัจจุบันทุกคนมีสื่ออยู่ในมือ ความลับไม่มีในโลก พร้อมที่จะเก็บภาพ เก็บหลักฐาน และแสดงออกมาได้ทุกเมื่อ ทุกคนกล้าที่จะเปิดเผยความคิด ความรู้สึกของทุกคน ซึ่งเป็นผลต่อความขัดแย้งที่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าสมัยก่อน อีกทั้งยังมีความเร่งรีบที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทุกอย่างคือการแข่งขัน ทุกคนเร่งรีบเสมอ เพื่อให้ตัวเองได้งาน หรือได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ ทั้งสองสิ่งทั้งความขัดแย้งและความเร่งรีบมักก่อให้เกิดความเครียดที่เพิ่มมากขึ้น

กระทรงสาธารณสุข กล่าวว่า “คนที่อาศัยอยู่ในเมืองที่แวดล้อมไปด้วยความตรึงเครียด แออัด มีโอกาสป่วยเป็นโรคทางจิตเวชหรือโรคซึมเศร้ามากกว่าคนที่อยู่ท่ามกลางชนบท”

โรคซึมเศร้าเกิดจากสารสื่อประสาทในสมอง (Neurotransmitter) มีความผิดปกติ หากอยู่ในภาวะความกดดัน ความตึงเครียด จะทำให้ไม่สามารถรับมือหรือไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ โรคซึมเศร้าสามารถเกิดได้กับทุกคน หากได้รับการกระตุ้นด้วยความเครียด การสูญเสีย เรื่องราวบางอย่างที่เข้ามากระทบจิตใจอย่างรุนแรง เรื่องราวที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และเป็นเรื่องร้ายแรงที่ไม่สามารถทำใจรับได้ในขณะนั้น รวมไปถึงการสะสมเรื่องราวต่าง ๆ ไว้ภายในจิตใจ ไม่ปล่อยให้จิตใจได้รักตัวเอง มั่วแต่คิดลบทำร้ายตัวเองอยู่เสมอ
โรคซึมเศร้าสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย ทุกเพศ มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย มักแสดงอาการในช่วง 25 – 35 ปี และไม่ได้เป็นโรคที่จะสามารถหายเองได้ง่าย ๆ ซื้อยาทานเองก็ไม่ได้ ต้องรักษาให้ถูกต้อง รักษาให้ครบถ้วน ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หากดูแลได้อย่างถูกวิธีสามารถหายขาดจากโรคนี้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์

การดูแลรักษาคนใกล้ชิดที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า

หาคุณมีเพื่อนหรือมีคนใกล้ชิดที่ป่วยเป็นโรคนี้ ควรรับฟัง คอยดูแล ใส่ใจเขาเป็นพิเศษ ให้ความสำคัญเขา ดูแลให้กิน ให้นอนเป็นเวลา พยายามอย่าให้เขาอยู่คนเดียว หรืออย่าให้เจอเรื่องเลวร้ายเข้ามากระทบจิตใจอีก ควรหลีกเลี่ยงคำว่า “เลิกเศร้าได้แล้ว” “อย่าคิดมาก” “มีคนอื่นลำบากกว่าอีกเยอะ” “อย่าอ่อนแอ” “นึกถึงพ่อแม่เอาไว้” เพราะชุดคำชุดนี้ยิ่งทำร้ายจิตใจผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี เป็นการกดดัน และแสดงถึงความไม่เขาใจอาการที่เขาเป็น ควรให้กำลังใจด้วยคำพูดทีว่า “คุณทำได้ดีแล้ว” “เก่งมากเลย” “คุณดูดีขึ้นนะ” และสิ่งที่สำคัญที่สุด อย่าดูแลคนป่วยจนลืมดูแลจิตใจตัวเอง เพราะการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจทำให้คุณซึมเศร้าตามเขาไปด้วย โดยไม่รู้ตัว

โรคซึมเศร้าหากปล่อยไปโดยไม่รักษาอย่างใกล้ชิด นอกจากจะทำให้อาการยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้นแล้ว อาจมีผลต่อชีวิตได้ เพราะอาการของโรคนี้ทำให้ผู้ป่วยจมเข้าไปอยู่ในช่วงอารมณ์จนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ โรคนี้ไม่สามารถสังเกตได้จากภายนอกได้อย่างชัดเจน ดังนั้นวันนี้เราจึงอยากชวนให้ทุกคนสังเหตุคนรอบข้างว่ามีใครเข้าข่ายที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ และรีบเข้าไปดูแลเขาก่อนที่จะสายเกินแก้