เงินดิจิตอล ค่าเงินยุคใหม่ ที่คนไทยกำลังตื่นกระแส

เงินดิจิตอลคือค่าเงินที่ไม่มีหน่วยงานใด ๆ เข้ามากำกับดูแล กำหนดมูลค่าตายตัว มีมูลค่าขึ้นลงตามการซื้อขาย หรือเรียกง่าย ๆ ว่าตามความต้องการในตลาด ซึ่งแตกต่างกับค่าเงินในปัจจุบัน เช่น ค่าเงินบาทถูกควบคุมค่าเงินโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

เงินดิจิตอลถูกคิดค้นขึ้นสกุลแรกคือ Bitcoin

                Bitcoin ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2552 โดยนักพัฒนาชาวญี่ปุ่น ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakkamoto ใช้ SHA-256 เป็นเครื่องมือในการเข้ารหัสสกุลเงินเอาไว้ และเมื่อมีคนขุดพบก็สามารถนำ Bitcoin ที่ได้ไปใช้ทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้

หากจะยกตัวอย่างง่ายๆ  คือ นาย Satoshi ได้ตั้งโจทย์คณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนเอาไว้มาก ๆ ด้วยใช้เครื่อง SHA-256 เป็นอุปกรณ์ในการสร้างโจทย์ (คอมพิวเตอร์ประมวลผลและคิดโจทย์ได้รอบครอบกว่ามนุษย์แต่ นาย Satoshi เป็นคนกำหนดรูปแบบเบื้องต้นของโจทย์) และเมื่อได้โจทย์แล้วก็ปล่อยให้ผู้ที่สนใจเข้ามาแก้ไขโจทย์ หากแก้โจทย์ได้ก็จะได้รับ Bitcoin นั้น ๆ ไปใช้เหมือนสกุลเงินทั่วไปบนโลกออนไลน์

โดย Bitcoin ถูกผลิตขึ้นมาเพียง 21 ล้าน Bitcoin เท่านั้น โดยใน 1 Bitcoin ยังแบ่งย่อยเป็นอีก 100 ล้าน Satoshi อีกด้วย นั้นหมายความว่าในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ขึ้นมาหากได้โจทย์ง่ายอาจจะได้รับรางวัลเพียง 1 Satoshi ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของ Bitcoin เท่านั้น

และหาก Bitcoin ถูกขุดหรือถูกแก้โจทย์ปัญหาจนหมดแล้วละก็ ต่อไปคือส่วนของการเทรด (Trade) เท่านั้น นั่นคือการซื้อขาย Bitcoin และราคาขึ้นลงตามราคาตลาดตามความต้องการที่มีมากหรือน้อย ไม่มีธนาคารกลางหรือคนกลางมาควบคุมมูลค่าของ Bitcoin แต่ถึงในปัจจุบันการขุดพบของ Bitcoin ยังไม่ครบทั้งหมด 21 ล้าน Bitcoin แต่ก็มีนักลงทุนส่วนมากที่ใช้การเทรด (Trade) เป็นการซื้อหรือเกร็งกำไรจากสกุลเงินดิจิตอลที่ชื่อว่า Bitcoin

เงินดิจิตอลในปัจจุบันมีหลายสกุล

เงินดิจิตอลในปัจจุบันมีหลากหลายสกุลเงินในปัจจุบันมากกว่า 20 สกุลเงิน แต่มีหลักการและวิธีการคล้าย ๆ กับ Bitcoin ทั้งหมด แตกต่างกันที่ผู้สร้าง รูปแบบการได้มา และมูลค่าความต้องการของตลาด เช่น Ethereum (ETH) เปิดตัวในปี 2014, Ripple (XRP) ที่ถูกเปิดตัวในปี 2014 เช่นเดียวกัน แต่มีความต่างจากสกุลเงินอื่น เนื่องจากไม่มีการขุดใด ๆ แต่อาศัยการเพิ่มมูลค่าด้วยการเทรดเท่านั้น

การใช้หรือการจัดเก็บสกุลเงินดิจิตอล

หากคุณมีเงิน 10,000 บาท คุณต้องการนำไปฝากธนาคาร คุณต้องมีสมุดเงินฝาก และนำเงินจำนวน 10,000 บาทไปธนาคารพร้อมกับสมุดเงินฝาก เพื่อนำเงินเข้าบัญชีของคุณ ทางธนาคารจะลงบันทึกว่าในบัญชีของคุณมีเงินจำนวน 10,000 บาท

ในทางกลับกันสกุลเงินดิจิตอลจะเปิดให้คุณสามารถสร้าง Address หรือเลขที่บัญชีของคุณ ได้ผ่านทางหน่วยงานกลางที่คุณไว้วางใจจะเข้าไปเปิดกระเป๋าเงินไว้กับเขา หน่วยงานกลางเปรียบเสมือนธนาคารในโลกแห่งดิจิตอลนั่นเอง

เมื่อคุณมีเลขที่บัญชีหรือ Address เรียบร้อยแล้ว คุณสามารถโอนเงินสกุลปัจจุบันของคุณ (เงินบาท) เข้าไปยังสกุลเงินดิจิตอลของคุณได้ โดยผ่านการซื้อในรูปแบบของการเทรด เพื่อให้ได้สกุลเงินดิจิตอลเข้ามาในบัญชีของคุณ และเมื่อคุณต้องการซื้อของด้วยสกุลเงินดิจิตอล เพียงแค่คุณเลือก Address  หรือเลขบัญชีดิจิตอลปลายทาง ก็สามารถโอนเงินค่าของไปยังปลายทางได้แล้วนั่นเอง

สกุลเงินดิจิตอลเป็นเรื่องใหม่ที่ถูกคิดค้น และพัฒนามาตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามทุกการลงทุนคือความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้มั่นใจก่อนลงทุน แม้ว่าสกุลเงินดิจิตอลจะไม่ได้รับผลกระทบจากข่าวสารบ้านเมืองโดยตรง แต่มูลค่าของสกุลเงินนี้มีขึ้นและลงไม่แตกต่างกับสกุลเงินที่สามารถจับต้องได้ในปัจจุบัน